Releases

สนทนากับเอกลักษณ์ หลุ่มชมแข นักพัฒนาผู้คลุกคลีกับปัญหาคนหาย ที่หลายกรณีมาจากคนแปลกหน้าบนมือถือ ความรุนแรงในครอบครัวและความเหลื่อมล้ำในสังคม

14 กรกฎาคม 2563


ดีแทคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมที่เข้มแข็งผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารและนวัตกรรมดิจิทัล และนี่เป็นเจตนารมย์และเป้าหมายหลักของการดำเนินงานที่ดีแทคเรามุ่งมั่นในการเสริมสร้างสังคมผ่านการสื่อสาร เพื่อให้ลูกค้าของเราเชื่อมต่อกับสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเขา (Empower societies by connecting our customers to what matters)

 

Impacts นำเสนอบทความสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับดีแทคในการเป็นหุ้นส่วนทางสังคม เพื่อร่วมกันพัฒนาโลกใบนี้ให้ดีขึ้นด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารและดิจิทัล โดยผู้อ่านจะได้รับรู้เรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจ พร้อมที่จะร่วมเปลี่ยนแปลงสังคมนี้ให้ดีขึ้นไปด้วยกัน

สำหรับนักพัฒนาสังคนคนแรกที่ dtac blog ได้พูดคุยก็คือ คุณเอกลักษณ์ หลุ่มชมแข หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา ผู้อุทิศตนทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงแก่คนเล็กคนน้อยต่อปัญหาคนหาย ปัญหาที่ถูกละเลยจนกลายเป็นความเคยชินในสังคมไทย

 คนหายปัญหาที่ถูกละเลย

เชื่อหรือไม่ว่า ประเทศไทยมีศูนย์ติดตามรถหาย แต่ไม่มีศูนย์ติดตามคนหาย จนทำให้ปัญหาคนหายเป็นปัญหาที่ถูกเพิกเฉย ไม่อยู่ในสาระบบของประเทศคุณเอกลักษณ์ กลุ่มชมแขหัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อการต่อต้านการค้ามนุษย์ เล่าให้ dtac blog ฟังถึงปัญหาคนหายที่ซุกอยู่ใต้พรมมากว่า 16 ปีและดูเหมือนว่าภาครัฐยังไม่ได้จริงจังต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ณ ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ที่นั่นเป็นต้นกำเนิดของศูนย์ข้อมูลคนหาย ซึ่งแต่เดิมคือศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา ที่นั่นพบว่า มีการเคลื่อนย้ายประชากรเพื่อไปประกอบอาชีพยังพื้นที่ต่างถิ่นเป็นจำนวนมาก แต่ที่สิ่งที่สำคัญจนกลายเป็นปัญหาสังคมคือ คนเหล่านั้นจำนวนหนึ่งไม่ได้กลับบ้านอีกเลย

 

จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลอย่างละเอียดในชุมชนทั่วทั้งตำบลแม่ยาว ทำให้พบว่าการหายตัวไปของคนในชุมชน มีแนวโน้มว่าเกี่ยวข้องกับค้ามนุษย์และเมื่อมูลนิธิพยายามค้นหากระบวนการในการช่วยเหลือติดตามคนหายในชุมชน แต่ก็พบกับอุปสรรคในการเข้าถึงความช่วยเหลือนั้น อีกนัยหนึ่ง ปัญหาคนหายในประเทศไทยยังไม่มีกระบวนการในการจัดการปัญหาจากหน่วยงานรัฐ เชื่อหรือไม่ว่า แค่ที่ตำบลแม่วางแห่งเดียว มีคนหายตัวไปมากว่า 20 ราย แล้วทั้งประเทศจะมีจำนวนเท่าไร

และในช่วงกลางปี พ..2546 จึงได้ถือกำเนิดขึ้นของศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ที่กรุงเทพฯ โดยได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากมูลนิธีเอเชียและสถานทูตอเมริกา ประจำประเทศไทย

 

 “ปัญหาคนหายเป็นปัญหาสากลทั่วโลก ซึ่งมีที่มาหลากหลายทั้งเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี การเคลื่อนย้ายแรงงาน ซึ่งในแต่ละประเทศก็มีปัญหาเฉพาะตัว อย่างที่จีนก็จะเกี่ยวกับการค้ามนุษย์เป็นหลัก ส่วนของไทยจะเกี่ยวข้องกับการลักพาตัวในเด็ก”

 

ความเหลื่อมล้ำในสังคม

เอกลักษณ์เปิดเผยในงาน dtac Safe Internet ว่าสาเหตุสำคัญของกรณีเด็กหายนั้นมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับปัญหาความแตกแยกในครอบครัว และโดยส่วนใหญ่เด็กเต็มใจที่จะเดินออกจากบ้านเพื่อไปหาคนแปลกหน้าเอง 

ผมอยู่ในครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์พอ อยู่และอาศัยในชุมชนแออัดตั้งแต่เด็ก ในนั้นเรียกได้ว่าเป็นแหล่งรวมปัญหา ผมเห็นคนเดือดร้อนหาเช้ากินค่ำ ครอบครัวหย่าร้าง เด็กไม่เรียนหนังสือเด็กติดยา แต่ขณะเดียวกัน ที่นั่นก็ทำให้ผมได้เห็นปัญหาและต้องการที่จะหลุดออกจากปัญหานั้น  วันหนึ่ง ผมได้อ่านนวนิยายชื่อว่า “ปีศาจ” ของเสนีย์ เสาวพงศ์ เป็นเรื่องราวของทนายความที่ออกมาต่อสู้กับปัญหาสังคมเหล่านั้น

เอกลักษณ์มุ่งมั่นอย่างยิ่งในการอุทิศตนเพื่องานพัฒนาสังคม ช่วยเหลือคนตัวเล็กตัวน้อย หวังเป็นกระบอกเสียงเพื่อก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม นั่นจึงเป็นแรงบันดาลใจให้เขาเลือกศึกษาในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หลังจากจบการศึกษา เขาเริ่มต้นทำงานที่สำนักงานทนายความ แต่นั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่เขาวาดฝันไว้ จึงตัดสินใจลาออก

เขาหว่านใบสมัครตามมูลนิธิต่าง ๆ ราว 11 แห่ง ด้วยความคิดแบบโรแมนติก คิดว่านี่คือการได้ปลดปล่อยความดีงาม ความเป็นเสรีชน แต่ในการทำงานจริงนั้นเป็นคนละเรื่องเลย


การทำงานจริงเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา ต้องอาศัยองค์ความรู้ การจัดการข้อมูล และระเบียบวิธีที่เป็นขั้นเป็นตอน เพราะงานของเราเกี่ยวกับชีวิตคน มีปัจจัยทางด้านความเร็วเข้ามาเกี่ยวข้อง ขณะเดียวกัน ก็ต้องคำนึงถึงผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากกระบวนการสืบหาคนหาย เช่น การประกาศทางโซเชียลมีเดียจะเป็นวิธีการสุดท้ายที่เราเลือกใช้ เพราะนั่นอาจเป็นการตราบาปหรือรอยสักทางออนไลน์ของคนหาย โดยเฉพาะกรณีของเด็กที่มีแรงขับภายใน เรื่องฮอร์โมน การออกไปกับคนรักเข้ามาเกี่ยวข้อง” 

ความรุนแรงในครอบครัว

ที่น่าตกใจคือ การหายตัวของเด็กในปัจจุบัน ไม่ได้เกิดจากการถูกล่อลวง แต่เกิดโดยความสมัครใจของเด็กเอง ซึ่งโซเชียลมีเดียมีอิทธิพลอย่างมากต่อสถานการณ์การสูญหายของเด็กในยุคดิจิทัล คุณเอกลักษณ์บอก

ในอดีต การหายตัวของคนในชุมชนมีแนวโน้มว่าจะเกิดจากการล่อล่วงเพื่อไปค้ามนุษย์ ลักพาตัวเรียกค่าไถ่ หรือขายบริการทางเพศ แต่จากการทำงานมากว่า 16 ปี พบว่า สาเหตุของการสูญหายของบุคคลมีความเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

ทั้งนี้ สาเหตุหลักของการสูญหายของบุคคลในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้ 4 เหตุผลหลัก อันดับ 1 คือ การหนีออกจากบ้างโดยความสมัครใจ โดยสาเหตุนี้มีความยึดโยงกับประเด็นความรุนแรงในครอบครัวอย่างมาก ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มทั่วโลก อาจเป็นการหนีออกจากบ้านเพราะติดเกมหรือหนีไปกับคนที่รู้จักในโซเชียลมีเดีย หรือพูดง่ายๆ คือการหายตัวจากโทรศัพท์ด้วยเหตุนี้ทำให้ดีแทคและเอกลักษณ์ได้มีโอกาสทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกันเป็นเวลากว่า 10 ปี เพื่อสร้างทักษะทางดิจิทัลแก่เด็กและผู้ปกครอง

อันดับ 2 เป็นการลักพาตัว ตามมาด้วยการหาผลประโยชน์ทางเพศ และอันดับที่ 4 คือการสูญหายจากโรคสมองเสื่อม

สิ่งสำคัญของการตามหาเด็กหายคือเวลาในทุกนาทีทุกชั่วโมงที่เด็กหายไปนั้นมีค่า เพราะด้วยความอ่อนด้อยประสบการณ์ การลองผิดลองถูก การตัดสินใจกับคนที่คุยด้วย ดังนั้น การตามหาตัวเด็กที่ออกจากบ้านเพื่อไปยังที่ที่ปลอดภัยที่สุดจึงมีความสำคัญอย่างมาก

ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญมากในเชิงสืบสวนสอบสวน จะทำให้เกิดการตามหาได้อย่างมีประสิทธิภาพคุณเอกลักษณ์ กล่าว

แม้ “ปัญหาคนหายจะเป็นปัญหาใหญ่ของครอบครัวเล็กที่ภาครัฐไม่เคยเหลียวแล แต่ผู้ที่ประสบปัญหานี้ พวกเขาไม่ได้อยู่เพียงลำพัง พวกเขามีความหวัง มีคนในสังคม มีหุ้นส่วนทางสังคมที่คอยช่วยเหลืออยู่ 

เอกลักษณ์