คำโบราณที่ว่าไว้ว่า “หลายหัวดีกว่าหัวเดียว” ซึ่งมีนัยยะถึงความสำคัญของความร่วมไม้ร่วมมือ ยังคงทันสมัยในยุดิจิทัลที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และยิ่งเปลี่ยนไปเร็วเท่าไหร่ ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้เร็วและเท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงนั่นก็คือ “พันธมิตร” ซึ่งจะมาช่วยเสริมศักยภาพและความเชี่ยวชาญซึ่งกันละกัน
วันนี้ dtac blog พามาพูดคุยกับทีม Partnership ซึ่งนำโดย พิพัฒน์ ศรีมัธยกุล หรือ ชิว พร้อมด้วยสมาชิก สินัญพัฐ ตั้งชัยตระกูลและณัชชา พิมพวาทิน
“จริงๆ แล้ว ทีม Partnership ที่ผ่านมา จะค่อนข้างมอง Partnership ในแบบดั้งเดิมหรือ vertical integration เป็นหลัก ซึ่งพาร์ทเนอร์หลักๆ ก็จะเป็นผู้ให้บริการ OTT อย่าง Google, Youtube, Facebook แล้วนำมาจัดเป็นแพ็คเก็จ เพื่อนำเสนอบริการใหม่ๆ แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่มีความอิ่มตัวและการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง 5G และ IoT ในอนาคตข้างหน้า ทำให้สถานการณ์มีความท้าทายมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การหา Growth Engine ตัวใหม่ที่มองในแง่ของ hortizontal integration หรือในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องการ connectivity ซึ่งเป็นสินค้าพื้นฐานของการให้บริการของดีแทค” พิพัฒน์เล่า
และจากสถานการณ์ที่ว่ามานั้น ทำให้กลยุทธ์ของทีม Partnership ภายใต้กลุ่มงานพัฒนาธุรกิจ (Business Group) มีการปรับเปลี่ยน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 หน้าที่หลักด้วยกัน ได้แก่
- การรวบรวมและดูแลพันธมิตรที่ดีแทคร่วมงานด้วยอยู่แล้ว (Centralizing partnership) เพื่อให้เห็นภาพรวมทางด้านพันธมิตรของทั้งองค์กร เพื่อต่อยอดศักยภาพในการทำ Partnership
- การทำพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (Strategic partnership) ทั้งในลักษณะ vertical และ horizontal partnership ซึ่งยังมีโอกาสอีกมากในการทำ partnership กับอุตสาหกรรมอื่นทีดีแทคไม่เคยร่วมมือมาก่อน ซึ่งจะเป็นความร่วมมือเชิงกลยุทธ์มากขึ้น
- การหาพันธมิตรเพื่อสนับสนุนงาน B2B ซึ่งจะมากไปกว่าการขายแพ็คเก็จวอยซ์และดาต้า แต่จะเป็นการนำเสนอขายลูกค้าองค์กรที่มีความเป็น “โซลูชั่น” มากขึ้น
“เวลา” ความท้าทายของการทำ Partnership ในยุคดิจิทัล
เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ดีแทคภายใต้การนำของทีม Partnership ได้จับมือกับบริษัท M Vision ประกาศการพัฒนาแพลทฟอร์ม EV ซึ่งถือเป็นเทรนด์แห่งอนาคตและถือเป็นก้าวแรกๆ ของดีแทคในการสานต่อพันธกิจที่ว่า “Go beyond connectivity” ซึ่งแพลทฟอร์ม EV นี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นโปรเจ็คที่ 2 ของกลุ่ม Smart solutions ซึ่งโปรเจ็คที่ดีแทคดำเนินการไปก่อนหน้านี้คือ dtac Smart farmer
“การทำ Smart solutions ต่างๆ อาจเรียกได้ว่าเป็นการเรียนรู้และศึกษาเพื่อหาความเป็นไปได้และพัฒนา เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านี้ได้ และท้ายที่สุดแล้ว จะนำไปสู่โมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ ที่อาจไม่ใช่เพียงวอยซ์และดาต้าเท่านั้น”
ซึ่งแพลทฟอร์ม EV ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่รายได้ไม่ได้มาจากวอยซ์และดาต้า แต่เป็น “ข้อมูล” ที่เกิดขึ้นจากแพลทฟอร์ม ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มาก มียอดขายถึงปีละ 1.8 ล้านคัน ขณะเดียวกัน สังคมและผู้บริโภคก็มีความต้องการในการช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งพลังงานไฟฟ้าจะเข้ามามีบทสำคัญในอนาคตของไทย
“แพลทฟอร์ม EV เป็นโปรเจ็คที่ต้องอาศัย partnership เป็นอย่างมาก เพราะต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญจากพาร์ทเนอร์ที่มีอยู่ในตลาดอยู่แล้ว อย่างจุดชาร์จพลังงานไฟฟ้า ศูนย์จัดจำหน่าย ลีสซิ่ง ประกัน ฯลฯ แต่สำหรับดีแทคเอง เรามีความรู้ความเชี่ืยวชาญด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและการจัดการข้อมูล และนี่คือคอนเซปต์ของ partnership ในยุคดิจิทัล ที่การถือคุณค่าร่วม (Shared value) เป็นสำคัญ หมดยุควันแมนโชว์ ทุกอย่างเราต้องทำขึ้นมาเองทุกอย่าง” พิพัฒน์อธิบาย
นอกจากนี้ อีกปัจจัยสำคัญในการทำ Partnership ในยุคดิจิทัล คือ “เวลา” ดังนั้น การวางโครงสร้างของโปรเจ็คจึงใช้วิธีแบบ Agile ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดการให้บริกาแก่ลูกค้าได้เร็วขึ้น ซึ่งจะเริ่มจากการทำ ideation การทดสอบสินค้า เปิดให้บริการและแก้ไข ซึ่งจะแบ่งออกเป็นเฟสๆ เพื่อให้สามารถควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งแพลทฟอร์ม EV นี้คาดว่าจะสามารถให้บริการในเฟสแรกได้ในช่วงปลายปีนี้
นอกจากโปรเจ็ค EV ที่เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง มีการเจรจากับพาร์ทเนอร์หลายรายแล้ว ปัจจุบัน ยังมีการเจรจากับ Google เพื่อนำ enterprise solutions มาให้บริการกับลูกค้าองค์กรของดีแทคอีกด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดบริการใหม่ๆ ที่อาจเรียกได้ว่า one stop service มากขึ้น เเละสามารถเจาะกลุ่มลูกค้าองค์กรในแต่ละเซ็กเมนต์ได้ด้วย
ท้าทายแต่สนุก
แม้สมาชิกในทีม Partnership จะมีเพียงแค่ 3 คนเท่านั้น แต่ก็ถือได้ว่าเป็นความท้าทายเช่นเดียวกัน สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่เราพบหลังจากเริ่มการเจรจาพูดคุยกับมพาร์ทเนอร์คือ “ความเชื่อมั่น” ในแบรนด์ดีแทค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องจริยธรรม
ในยุคดิจิทัล ธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวให้เร็ว ไม่ใช่เพื่อต่อสู้กับคู่แข่งเท่านั้น แต่รวมไปถึงความอยู่รอดในยุคเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี เราจำเป็นต้องทำให้เร็ว หาสิ่งที่ใช่และกำหนดคุณค่าร่วม และสิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ การมีพาร์ทเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน มีความเป็นมืออาชีพและมีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ