Releases

ปักหมุด “วันสตรีสากล” วิกิพีเดียระดมพลังปั้นคอนเทนท์สตรีภาษาไทยเทียบเท่าสากล

07 มีนาคม 2565


ดร.อธิคุณ สุวรรณขันธ์ ประธานวิกิมีเดียประเทศไทย เล่าถึงแนวคิดการจัดงานในวันสตรีสากล  (International Women’s Day หรือ IWD) ซึ่งตรงกับ 8 มีนาคมว่า ความท้าทายหนึ่งของวิกีพีเดียทั่วโลก คือความเหลื่อมล้ำทางเพศที่ผู้แก้ไขบทความ (editor) หรือปรับปรุงเนื้อหานั้นมากกว่า 80% เป็นเพศชาย ทำให้เนื้อหาบางส่วนเอนเอียงไปในมุมมองของผู้ชาย อาทิ เนื้อหาของการใช้คำในประเทศสเปนหรืออิตาลี จะเรียกผู้หญิงซึ่งเป็น “ภรรยา” ของผู้ชาย โดยสื่อให้เห็นว่าผู้ชายนั้นคือผู้เป็น “เจ้าของ” ซึ่งสื่อไปทางนัยที่เหนือกว่าทางเพศนั่นเอง

 

ที่ผ่านมามูลนิธิวิกิมีเดีย ได้ร่วมกับยูเนสโกในไทยได้จัดงานวันสตรีสากล 2562 ภายใต้ชื่อ #wiki4women ในรูปแบบของ edit-a-thon เพื่อช่วยแสดงบทบาทของผู้หญิงผ่านโครงการ “Women hidden from history” มีเป้าหมายที่จะทำให้คนตระหนักถึงเรื่องราวเกี่ยวกับผู้หญิงที่มักถูกมองข้ามหรือปกปิดจากประวัติศาสตร์ อาสาสมัครจะร่วมกันบันทึกเรื่องราวของผู้หญิง ผ่านการแปลบทความบนวิกิพีเดีย การเขียน และการเพิ่มข้อมูล อ้างอิงจากหนังสือและเอกสารสำคัญลงบนวิกิพีเดีย

ดร.อธิคุณ สุวรรณขันธ์ ประธานวิกิมีเดียประเทศไทย เล่าถึงแนวคิดการจัดงานในวันสตรีสากล  (International Women’s Day หรือ IWD) ซึ่งตรงกับ 8 มีนาคมว่า ความท้าทายหนึ่งของวิกีพีเดียทั่วโลก คือความเหลื่อมล้ำทางเพศที่ผู้แก้ไขบทความ (editor) หรือปรับปรุงเนื้อหานั้นมากกว่า 80% เป็นเพศชาย ทำให้เนื้อหาบางส่วนเอนเอียงไปในมุมมองของผู้ชาย อาทิ เนื้อหาของการใช้คำในประเทศสเปนหรืออิตาลี จะเรียกผู้หญิงซึ่งเป็น “ภรรยา” ของผู้ชาย โดยสื่อให้เห็นว่าผู้ชายนั้นคือผู้เป็น “เจ้าของ” ซึ่งสื่อไปทางนัยที่เหนือกว่าทางเพศนั่นเอง

ที่ผ่านมามูลนิธิวิกิมีเดีย ได้ร่วมกับยูเนสโกในไทยได้จัดงานวันสตรีสากล 2562 ภายใต้ชื่อ #wiki4women ในรูปแบบของ edit-a-thon เพื่อช่วยแสดงบทบาทของผู้หญิงผ่านโครงการ “Women hidden from history” มีเป้าหมายที่จะทำให้คนตระหนักถึงเรื่องราวเกี่ยวกับผู้หญิงที่มักถูกมองข้ามหรือปกปิดจากประวัติศาสตร์ อาสาสมัครจะร่วมกันบันทึกเรื่องราวของผู้หญิง ผ่านการแปลบทความบนวิกิพีเดีย การเขียน และการเพิ่มข้อมูล อ้างอิงจากหนังสือและเอกสารสำคัญลงบนวิกิพีเดีย

อีดิทอะธอน (edit-a-thon)  เป็นคำผสมมาจากคำว่า “อีดิท (edit)” และ “มาราธอน (marathon)” เป็นอีเวนต์ที่จัดขึ้นสำหรับผู้แก้ไขบทความ และปรับปรุงหัวข้อที่เฉพาะเจาะจง หรือประเภทของเนื้อหา ซึ่งมักจะรวมถึงการฝึกอบรมในการแก้ไขพื้นฐานสำหรับผู้แก้ไขรายใหม่

“เนื่องในวันสตรีสากล ซึ่งตรงกับ 8 มีนาคม เราจะจัดกิจกรรม อีดิทอะธอน (edit-a-thon) อีกครั้งโดยจะจัดขึ้นในวันที่ 6-16 มีนาคม 2565 หลังจากชะงักไป 2 ปีเพราะสถานการณ์โควิด-19 โดยได้รับการสนับสนุนจากสถานทูตสวีเดน และดีแทค ซึ่งผู้เข้าร่วมการแบ่งปันแก้ไขเนื้อหา “อีดิทอะธอน (edit-a-thon)” จะได้รับประกาศนียบัตรจากสถานทูต ทั้งหมดอยู่ในรูปแบบออนไลน์ โดยต้องมีเนื้อหาไม่ต่ำกว่า 2,000 ไบต์ หรือครึ่งหน้ากระดาษ A4 มีรางวัลพิเศษให้กับผู้ที่แบ่งปันมากซึ่งประเมินจากปริมาณและคุณภาพของการเขียน อีกทั้งยังมีเวิร์คช้อปงานเขียน และแปลบทความในวิกิพีเดีย ซึ่งเน้นวิทยากรสตรี จำนวน 2 วัน ส่วนของผู้แก้ไขบทความ (editor) จะเปิดกว้างโดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นสตรีหรือไม่”ดร.อธิคุณ กล่าว

ปิยะธิดา ถาวรประชา อาสาสมัครวิกิมีเดียประเทศไทย เล่าเสริมถึง กิจกรรมในปีนี้ว่าเป็นโครงการ WikiGap 2022 Let’s close the Internet Gap เพราะพบว่าข้อมูลวิกิพีเดียระดับโลกที่เกี่ยวกับผู้หญิงจะมีเนื้อหาเชิงลึกไม่มาก ยกเว้นบุคคลที่มีชื่อเสียงมาก เช่น มารี สกวอดอฟสกา-กูว์รี ส่วนในไทยนั้นแม้จะยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน แต่เท่าที่เห็นคือข้อมูลของผู้หญิงไทยที่มีชื่อเสียงในวิกิพีเดียนั้น โดยมากเป็นภาษาอังกฤษทั้งที่เป็นผู้หญิงชาวไทย อีกทั้งทั่วโลกยังมีบทความชีวประวัติ ที่เกี่ยวกับผู้หญิงเพียงหนึ่งในห้าเท่านั้น ฉะนั้นกิจกรรมในปีนี้ จึงอยากให้มีบทความชีวประวัติเกี่ยวกับผู้หญิงบนวิกิพีเดียภาษาไทยให้มากขึ้น ซึ่งเปิดกว้างหลากหลายทุกวงการทั้งด้าน วิทยาศาสตร์ วิศวกร นักกีฬา กอล์ฟ แบดมินตัน เชฟ ฯลฯ โดยประเมินว่ามีบทความด้านสตรีไทยที่ยังมีขาดหายไปไม่น้อยกว่า 900 บทความในวิกิพีเดีย Women in Red ซึ่งเป็นโครงการวิกิพีเดียที่กล่าวถึงความเหลื่อมล้ำทางเพศในเนื้อหา ที่เน้นไปที่การสร้างเนื้อหาเกี่ยวกับชีวประวัติและผลงานของสตรี รวมถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ดร. อธิคุณ กล่าวเพิ่มเติมว่า “การสร้างเนื้อหาภาษาไทย เพื่อลดช่องว่างการเข้าถึงที่เกิดจากภาษา สร้างความเท่าเทียมการเข้าถึงข้อมูล และในปี 2566 อาจจะขยายเนื้อหาทั้งไทยและอังกฤษ เรามองว่า วิกิมีเดีย และอาสาสมัคร เป็น ตัวเชื่อมองค์กรระหว่างประเทศ และอาสาสมัครคนไทยที่ชำนาญภาษาต่างประเทศ และอาสาสมัครไทยเองที่จะสร้างเนื้อหาท้องถิ่นมากขึ้น เพิ่มความเท่าเทียมการเข้าถึงข้อมูล”

ออนไลน์สู่ออฟไลน์ขยายวงผู้ใช้งานแบ่งปัน

รศ.ดร.ทวีธรรม ลิมปานุภาพ ที่ปรึกษาวิกิมีเดียประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “ในอดีตการเข้าร่วมเป็นผู้แก้ไขบทความ (editor) จะไม่มีการพบปะกันใดๆ ต่างคนต่างแก้ไขแบ่งปันส่วนที่ตนเองสนใจ จากนั้นในช่วงปี 2554  จากการร่วมเวทีนานาชาติที่ประเทศอิสราเอล ทำให้พบว่าการต่อยอดขยายชุมชน ควรที่จะมีการพบปะระหว่างกันแบบเจอกันจริงๆ (face to face) ทำให้เกิดหัวข้อจุดประกายความสนใจใหม่ๆ และดึงผู้ที่มีองค์ความรู้ในหลายๆ ด้านเฉพาะทางเข้ามาแบ่งปัน สร้างความหลากหลายเนื้อหาได้ปริมาณและคุณภาพมากขึ้น รวมถึงการกลับเข้ามาใช้งานบ่อยครั้งและแบ่งปันเพิ่มขึ้น (Retention) อีกทั้งยอมรับว่า พัฒนาการของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงนั้น ทำให้การแบ่งปันรูปแบบ “ตัวอักษร” นั้น ขยับความสนใจไปสู่เนื้อหามัลติมีเดีย ทำให้อันดับความนิยมของเว็บวิกิพีเดียทั่วโลกและไทยลดต่ำลงจากที่เคยอยู่ในอันดับท้อปเทน และโปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล (search engine) ต่างๆ ก็ดึงข้อมูลจากวิกิพีเดียมาแสดงผลในเว็บนั้นๆ ทำให้เสียยอดการเข้าถึงหรือผู้เข้าเยี่ยมชม

กิจกรรม Edit-a thorn จะกระชับสัมพันธภาพและขยายวงผู้ใช้งานให้เพิ่มขึ้น ทั้งความหลากหลายทางเพศ อายุ และเนื้อหาที่จะสร้างข้อมูลที่หลากหลายครบถ้วนและเป็นกลาง ผ่านความร่วมมือผู้สนับสนุนอย่างดีแทค ซึ่งเป็นองค์กรที่ชูแนวคิดความหลากหลายและการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง (diversity & inclusion) เป็นหัวใจของวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงร่วมมือกับภาคีเครือข่าย และสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่จะดึงผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลายวงการและเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาเพิ่มขึ้น

เส้นเลือดหล่อเลี้ยงสายธารความรู้

รศ.ดร.ทวีธรรม มองว่าในสังคมประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมีแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้หลายหลาย วิกิพีเดีย อาจเป็นแหล่งข้อมูลเสริม หากสำหรับไทยที่ยังมีแหล่งข้อมูลที่เชื่อได้ไม่มาก แม้แต่ข้อมูลโรงเรียน วัด โรงพยาบาลในไทย หากองค์กรนั้นไม่มีเว็บไซต์ของตนเอง ข้อมูลก็จะแสดงผลในวิกีพีเดีย จนเสมือนเป็นเว็บสำรอง (Mirror site) ของการให้ข้อมูลของหน่วยงานรัฐ ทำให้วิกิพีเดียเป็นเหมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงคนจำนวนมาก ในไทยมีลงทะเบียนใช้งานราวแสนราย หากดูจำนวนผู้ใช้งานที่เข้ามาแก้ไขแบ่งปันจะลดลงอย่างก้าวกระโดดเหลือไม่กี่พันราย และเข้ามาใช้งานและแก้ไขต่อเนื่องช่วงหนึ่งปีจะอยู่ระดับร้อยราย วิกิพีเดียภาษาไทยจึงมีบทบาทสำคัญในการเป็นเส้นเลือดหลักของการแบ่งปันข้อมูลที่เชื่อถือได้ เป็นหน้าต่างของสังคม ให้คุณค่าความเป็นธรรมในสังคม ลดเหลื่อมล้ำในมุมมองที่ขาดหายไป เราเป็นชุมชนที่เปิดกว้างที่ให้กลุ่มคนชายขอบ MARGINALIZED ที่แตกต่างทั้งทางเพศ  ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือ LGBTQ+ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มชาติพันธุ์ ฯลฯ ที่อาจไม่ได้เข้ามาบอกเล่าเรื่องราวที่สำคัญ และสร้างความเท่าเทียมของการเข้าถึงข้อมูลที่ครบถ้วนหลากหลายและเป็นกลาง


Related Content