Releases

dtac@home บริการใหม่ที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในประเทศไทย

02 ธันวาคม 2562


ในช่วงเช้าของศุกร์วันหนึ่งที่อากาศร้อนระอุ ทีมเซลล์ dtac@home ซึ่งเป็นบริการใหม่จากดีแทคได้เดินพบปะลูกค้าที่ชลบุรี ซึ่งลุกค้าทุกคนที่เราพบเจอ ต่างถือสมาร์ทโฟนไว้ในมือ แม้กระทั่งเด็กเล็กเด็กน้อยก็ตาม แต่บ้านหรือคอนโดมิเนียมโดยส่วนใหญ่ ยังขาดอินเทอร์เน็ตบ้าน

ซึ่งเหตุผลถูกสันนิษฐานมาจากหลายสาเหตุ เช่น ค่าใช้จ่ายหรือความเร็วที่ยังไม่ตอบสนองความต้องการได้ รวมถึงกระบวนการในการดำเนินการสำรวจและติดตั้งสายอินเทอร์เน็ต และนั่นหมายถึงอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการติดต่อ ดูหนัง ฟังเพลง หาข้อมูลคามรู้ขึ้นอยู่กับโมบายอินเทอร์เน็ตทั้งหมด

“บ้านที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตอาจแสดงได้ถึงความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลหรือ Digital divide ในประเทศไทย อัตราการเข้าถึงสมาร์ทโฟนของไทยอยู่ที่ 81% โดยมีอัตราการใช้ดาต้าเฉลี่ยที่ 11 กิกะไบต์ต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าตลาดที่พัฒนาแล้วในหลายตลาด แต่ในขณะเดียวกัน บริการพื้นฐานด้านดิจิทัลหลายประเภทยังคงมีราคาแพงและซับซ้อนเกินไป” คริสเติล รามอส เจ้าของโปรเจ็ค dtac@home

 

 

การก้าวเข้าสู่ธุรกิจการให้บริการอินเทอร์เน็ตบ้านถือเป็นอีกความพยายามหนึ่งในการลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลของไทย นอกเหนือจากการให้บริการโซลูชั่นด้านเกษตรอัจฉริยะและแพลทฟอร์มอีวี ซึ่งทั้ง 3 บริการดังกล่าวจะนำมาซึ่งความสะดวกสบายแก่คนไทย

ทั้งนี้ บริการ dtac@home ได้เริ่มทดลองนำร่องใน 3 พื้นที่ ได้แก่ ชลบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา โดยผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องสำรวจการลากเส้นเคเบิล เนื่องจากเพียงแค่มี router เพื่อกำหนดจุด Wi-Fi hotspot โดยเครื่อง router จะเป็นจุดรวมสัญญาณ 4G ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่ง router ไปที่ไหนก็ได้ของบ้าน

 

“ผู้ที่ทดลองใช้บริการต่างพึงพอใจในความง่ายของการติดตั้งและการใช้บริการที่ไม่ยุ่งยาก ซึ่ง dtac@home เข้ามาตอบโจทย์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะมีสมาร์ทโฟนที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้อยู่แล้ว แต่ในความเป็นจริง คนเรายังต้องการโซลูชั่นบางอย่างที่สามารถส่งสัญญาณ Wi-Fi ที่แรงเพียงพอ ราคาเข้าถึงได้ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องปริมาณการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการฟังเพลงหรือดูทีวีแบบสตรีมมิ่ง

 

 

ทั้งนี้ dtac@home เป็นบริการที่ได้รับการพัฒนามาจากการทำงานแบบ Agile ซึ่งเป็นวิถีการทำงานแบบใหม่ อาศัยการค้นคว้าและทดลองหลายต่อหลายครั้ง รวดเร็ว โดยอาศัยหลักของการนำความต้องการของลูกค้าเป็นศูนย์กลางในทุกขั้นตอน โดยหลักการแล้ว จุดประสงค์ของการนำแนวคิดแบบ agile มาทำใช้ในการทำงาน มันไม่ได้ต้องการสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สมบูรณ์แบบ แต่แท้จริงคือการสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ พร้อมกับการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอตามฟีดแบ็คของลูกค้า

 

นายรามอส ยังอธิบายอีกว่า “เดิมที dtac@home มีลักษณะธุรกิจเหมือนการให้บริการโทรศัพท์มือถือแบบรายเดือน แต่เราตระหนักได้ว่า บางกลุ่มลูกค้าต้องการความยืดหยุ่นและไม่ผูกมัดกับค่าใช้จ่ายรายเดือน ซึ่งอาจทำให้พวกเขาเกิดความกังวลใจได้ ดังนั้น เราจึงกำลังทดลองที่จะใช้โมเดลแบบลูกค้าเติมเงินกับอินเทอร๋เน็ตบ้าน ซึ่งจะเป็นที่แรกของประเทศไทยเลยทีเดียว และนี่คือประโยชน์อย่างยิ่งของการทำงานแบบ agile ที่จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว”

 

และด้วยการมาถึงของเทคโนโลยี 5G ทำให้ธุรกิจโทรคมนาคมจำเป็นต้องมองหาผลิตภัณฑ์และบริการอื่นๆ ที่มากกว่าการให้บริการด้านโทรศัพท์ บริการอินเทอร์เน็ตบ้านก็ถือเป็นการต่อยอดจากเทคโนโลยี 5G ขยายพื้นที่การให้บริการของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมครัวเรือนในประเทศไทยกว่าที่เป็นอยู่ สิ่งที่มากไปกว่านั้นคือ dtac@home จะไม่ได้ยึดโยงกับความต้องการของลูกค้าหรือเทคโนโลยีในปัจจุบันเท่านั้น แต่เรียกได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการเข้าถึงบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี 5G ในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย

 

 

 


Related Content