Releases

ระวัง! มิจฉาชีพ ตั้งสติ ก่อนกดลิงก์ ไม่คุย ไม่รับเบอร์แปลก มั่นใจขั้นสุดใช้ dtac Safe และ Whoscall ช่วยบล็อกลิงก์ปลอม เบอร์อันตราย สมัครวันนี้รับสิทธิพิเศษเพียบ

15 มิถุนายน 2566


15 มิถุนายน 2566 – ดีแทค ห่วงใยประชาชน ออกโรงเตือนกลโกงมิจฉาชีพแนวใหม่ แนบลิงก์ปลอมผ่าน SMS จากการใช้ False Base Station (FBS) โดยใช้วิธีการส่งข้อความสั้น (SMS) แอบอ้างส่งมาจากธนาคาร หน่วยงานต่างๆ โดยไม่ผ่านเครือข่ายของผู้ให้บริการ ดีแทคขอเตือนภัย ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ ทุกวันนี้ ต้องตั้งสติให้มั่น ระมัดระวังไม่กด (รับ SMS แปลกปลอม) ไม่รับเบอร์แปลก ไม่คุย (หลงลมคำขู่) ดีแทคตระหนักถึงความกังวลของผู้ใช้บริการต่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ โดยมุ่งมั่นพัฒนาบริการป้องกันภัยไซเบอร์ที่ครบทุกมิติเพื่อส่งมอบประสบการณ์ชีวิตอัจฉริยะ (Enhance Smart Life for Customers) ยกระดับวิถีชีวิต ไลฟ์สไตล์ความสะดวกสบาย รวมถึงความปลอดภัยในการใช้งานของลูกค้า

ทำไมต้องใช้ dtac Safe

เพราะแฮ็กเกอร์และมิจฉาชีพอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด dtac Safe ช่วยบล็อกเว็บไซต์อันตรายจาก โซเชียลมีเดียและอีเมล์หลอกลวงให้ทันทีที่กด เพราะธุรกรรมออนไลน์อาจไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่คิด dtac Safe ช่วยบล็อกเว็บไซต์อันตรายที่ต้องการขโมยรหัสและข้อมูลการเงิน รวมไปถึงการบล็อกเว็บไซต์ที่มาพร้อมกับมัลแวร์ แรนซัมแวร์ที่จะเข้ามาแฮ๊กข้อมูลในมือถือ dtac Safe และ Whoscall Premium ผู้นำด้านแอประบุหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่รู้จัก แจ้งได้ทันทีว่าใครโทรเข้ามา และยังช่วยกรองสายที่น่าสงสัยด้วยระบบ AI อัจฉริยะและฐานข้อมูลที่มีอยู่มหาศาลจะสามารถบล็อกเบอร์มิจฉาชีพ และเตือนเบอร์แปลก และบล็อกเบอร์อันตรายให้ได้เพื่อให้มั่นใจว่าสายสนทนานั้นปลอดภัย ปัจจุบันมีผู้ไว้วางใจและมั่นใจในการใช้ dtac Safe แล้ว 110,000 ราย

ลิงก์ปลอม เว็บไซต์ปลอม ระบาดหนัก

ของลิงก์ที่ถูกส่งเข้ามา จนเผลอกดลิงก์และดาวน์โหลดไฟล์อันตรายที่เสี่ยงต่อการถูกดูดเงินโดยไม่รู้ตัว
7 ช่องทางที่มิจฉาชีพมักจะใช้ส่งลิงก์หลอกดูดเงิน คือ

1, SMS ปลอม มิจฉาชีพจะส่งลิงก์โดยมักอ้างว่าคุณได้รับสินเชื่อ ได้รับรางวัลจากกิจกรรม หรือหลอกลงทะเบียนรับสิทธิ
ซึ่งจะหลอกให้กรอกข้อมูลและติดตั้งไฟล์ที่ไม่ประสงค์ไว้

2. เว็บไซต์ปลอม มักจะแอบอ้างเป็นหน่วยงานรัฐและบริษัทเอกชน หลอกให้ชำระค่าบริการต่าง ๆ และมักหลอกกดลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
จนเงินหายหมดบัญชี

3. ไลน์ปลอม มิจฉาชีพจะสร้าง LINE Official Account ปลอมขึ้นมา ใช้รูปโปรไฟล์ให้เหมือนกับของจริง อ้างเป็นตำรวจ ธนาคาร หรือหน่วยงานรัฐ
และบริษัทเอกชน หลอกให้เหยื่อโอนเงินหรือหลอกขอข้อมูล และให้กดลิงก์สูญเงินไปจำนวนมาก

4. ลิงก์ใต้คอมเมนต์ เป็นลิงก์ข่าวหรือคลิปวิดีโอที่สร้างชื่อหน้าเว็บลิงก์เหมือนสื่อหลัก เพื่อหลอกให้คิดว่าเป็นการแชร์ลิงก์ที่มีต้นตอ
มาจากสื่อหลักมีความน่าเชื่อถือ

5. โฆษณาบนสื่อโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ ซึ่งมีบางเว็บที่ไม่พึงประสงค์ใช้ในการหลอกล่อโฆษณาการพนันและยิงแจ้งเตือนโฆษณา
เพื่อหลอกให้คนหลงเชื่อกดลิงก์ รวมถึงลิงก์ที่ติดฝังมัลแวร์

6. แอปพลิเคชันที่ไม่ทราบแหล่งที่มา จะให้ดาวน์โหลดผ่านลิงก์ที่ส่งให้ ไม่ได้ดาวน์โหลดผ่านสโตร์ที่มีการตรวจสอบ เสี่ยงที่จะถูกหลอกติดตั้งแอป
ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเเอปเงินกู้ แอปพนันและแอปหาคู่เถื่อนที่คนหลงกลเป็นเหยื่อ7

7. อีเมลปลอม โดยมิจฉาชีพจะแอบอ้างชื่อบริษัท แจ้งให้ชำระใบแจ้งหนี้ที่ยังไม่ได้ชำระเงิน และมีลิงก์ไปเว็บไซต์ปลอม หลอกให้กรอกข้อมูล
และทำรายการชำระเงิน

บริการ dtac Safe และแอป Whoscall ร่วมต่อสู้กับการฉ้อโกงจากการโทรและข้อความหลอกลวงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นเกราะป้องกันคนไทยจากการถูกหลอกลวง และการสร้างสังคมที่ปลอดภัยจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับคนไทยทุกคน

อ้างอิงข้อมูล

 

Anti-Fake News Center Thailand https://bit.ly/3P98EMU


Related Content
View All