Releases

dtac business เจาะลึกเคล็ดลับความสำเร็จของธุรกิจเครือข่าย Happy MPM ที่เติบโตเป็นอันดับสองของประเทศ

30 พฤศจิกายน 2564


ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมาเรียกได้ว่าเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ หลาย ๆ ธุรกิจได้หายไปเพราะแบกรับภาระต่าง ๆ ไว้ไม่ไหว แต่ไม่ใช่สำหรับ Happy MPM ธุรกิจเครือข่ายที่เติบโตเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยในปี 2020 ที่ผ่านมา


อะไรคือเคล็ดลับและตัวช่วยที่ทำให้ธุรกิจเครือข่ายนี้เติบโตสวนกระแสกับเศรษฐกิจและวิกฤตโลกในปัจจุบัน dtacblog จะพาไปดูเบื้องหลังความสำเร็จ และแนวทางการวางแผนองค์กรให้เหมาะกับการทำงานยุค Next Normal ที่สุด ด้วย 4 ส่วนในการทำธุรกิจในแบบฉบับ Happy MPM



1.ปรับตัวและเรียนรู้ตลอดเวลา


อย่างที่เรารู้กันว่าโลกของการทำธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากกระดาษมาสู่การเก็บไฟล์ต่างๆในเครื่อง และจากไฟล์เปลี่ยนผ่านมาสู่คลาวด์ เช่นเดียวกันกับการหาข้อมูล ทำการวิจัย จากเดิมที่ต้องออกไปเดินเก็บข้อมูล เปลี่ยนมาเป็นการทำการตลาดออนไลน์ นอกเหนือจากการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขึ้น และรวดเร็วขึ้น “Consumer Data” เองก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ Happy MPM ให้ความสำคัญ โดยการนำมาปรับใช้กับสองส่วนหลัก ๆ นั่นก็คือ


การจัดการหลังบ้าน รวมถึงสต็อกสินค้าต่าง ๆ บนระบบคลาวด์


เนื่องจากไลน์สินค้าของ Happy MPM มีจำนวนมาก ทั้งอาหารเสริม เครื่องสำอาง และกลุ่มอุปโภคบริโภค การจัดระบบสต็อกสินค้าที่ทำงานบนคลาวด์ เพราะสามารถเช็กจำนวนสินค้าที่ออก และยอดขายได้แบบเรียลไทม์ อีกทั้งยังมีระบบวิเคราะห์ข้อมูลสต็อกสินค้าได้แบบออนไลน์ ไม่จำเป็นต้องนั่งเช็กแบบ Manual ทีละไลน์ ประหยัดทั้งเวลา ประหยัดทั้งทรัพยากรบุคคล



การจัดการข้อมูลฐานลูกค้าด้วยระบบ CRM


การจัดเก็บข้อมูลลูกค้าถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการปรับกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งทางการตลาด ด้วยการจัดโปรโมชั่น การส่งของขวัญ และคำอวยพรให้ลูกค้าในช่วงเทศกาลต่าง ๆ หรือจะเป็นการแจ้งสิทธิประโยชน์สำหรับลูกค้า ซึ่งข้อมูลของลูกค้าเหล่านี้จะถูกอัพเดทให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดด้วยระบบ CRM


ด้วยข้อมูลที่มากมายมหาศาล การจัดเก็บข้อมูลแบบออนไลน์เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถดึง Customer Data  นั้น ๆ ไปวิเคราะห์ต่อได้สบาย ๆ





นอกเหนือจากการมีการวางระบบหลังบ้านที่ดีแล้ว ตัวผลิตภัณฑ์ก็สำคัญไม่แพ้กัน

การผลิตสินค้าออกมาแต่ละชิ้น สิ่งที่คนทำธุรกิจต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ นั่นก็คือ Customer Pain point หรือ ปัญหาที่ลูกค้าพบเจอบ่อย ๆ นั่นเอง เช่นเดียวกับ Happy MPM เพราะ…


2.Pain point ของลูกค้า คือหัวใจในการออกสินค้าใหม่


กลุ่มคนที่ควรให้ความสำคัญ และฟังเสียงของพวกเขาที่สุดคือ “ลูกค้า” สำหรับธุรกิจเครือข่ายอย่าง Happy MPM แล้ว Pain Point ของลูกค้า คือ “หัวใจ” ในการออกสินค้าใหม่ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ และปัญหาที่ต้องการการแก้ไข


เมื่อลูกค้าพอใจในสินค้าที่ตอบโจทย์เขาได้จริง ๆ ก็จะเกิดการกลับมาซื้อซ้ำอีกครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในการขาย สินค้าที่ดี และจริงใจต่อผู้บริโภคยังช่วยสร้างความเชื่อใจ ซื้อใจให้ลูกค้าไม่หนีไปซื้อกับที่อื่น


การรับฟัง Customer Pain Point ไม่เพียงแต่รับฟังปัญหาของลูกค้าเท่านั้น แต่เรายังต้องสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปด้วยเพราะก่อนที่จะออกสินค้า เราต้องศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคของคนทั่วโลกเลย เทรนด์เป็นยังไง สินค้าแบบไหนที่จะมีการบริโภคมากขึ้น จากนั้นนำ database มาปรับ แล้วออกมาเป็นสินค้าที่มีมาตรฐาน




3.จัดการเรื่องต้นทุน คุมงบให้อยู่หมัด


 การทำธุรกิจ ยิ่งมีขนาดใหญ่ ยิ่งคุมงบยาก ยิ่งเป็นธุรกิจที่ทำแบบ Manual ยิ่งต้องเจอกับค่าใช้จ่ายที่เกินจำเป็น ช่องโหว่เยอะ และไม่สามารถตรวจสอบได้หมด จึงเกิดมาเป็นโซลูชันที่จะช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น ไม่ซับซ้อน และตรวจสอบได้


แต่หลายบริษัททุ่มทุนไปกับการค้นหาโซลูชันที่ตอบโจทย์และต้องดีที่สุด แต่ต้องแลกมากับรายจ่ายจำนวนมาก และจบลงด้วยการคุมงบไม่อยู่ สำหรับ Happy MPM แล้ว คำว่าดีที่สุด ไม่จำเป็นต้องแพงที่สุด ยังคงมีโซลูชันที่พร้อมตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างครอบคลุมทุกปัญหา ในราคาที่จับต้องได้ สามารถบริหารการใช้งานได้ง่าย ๆ โดยช่วยทำให้การทำงานง่ายขึ้น แต่งบต้องไม่สูงขึ้นตาม เพื่อคุมงบค่าใช้จ่ายทางธุรกิจให้ได้


การคุมงบให้อยู่ ยังรวมไปถึงการจัดการวางแผนการเงิน ตั้งงบประมาณในส่วนต่าง ๆ และแบ่งอย่างชัดเจน เช่น งบประมาณการขาย งบประมาณการผลิต งบประมาณการสั่งซื้อ เป็นต้น


และอย่าลืมการคาดคะเนสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจทั้งในปัจจุบัน และอนาคต เพราะจากข้อมูลตัวเลขจะทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการวางแผนงบประมาณต่อไปครับ




4.มองหาเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อต่อยอดโอกาสทางธุรกิจ


โอกาสทางธุรกิจมักไม่ได้มาเพราะโชคช่วย หลังจากการปรับตัวให้เข้ากับโลกยุคใหม่ และจัดการกับระบบหลังบ้านให้แข็งแรงได้แล้ว เราควรมองหาเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ทำให้การทำงานง่ายขึ้น ทำเรื่องที่ยุ่งยากวุ่นวาย ให้สะดวกสบายมากขึ้น หรืออุดช่องโหว่ในธุรกิจ และปิดรูรั่วด้วยตัวช่วยที่ดี ผมขอหยิบอีกหนึ่งโซลูชันที่ Happy MPM ได้นำมาใช้ นั่นก็คือ dtac OneCall จาก dtac business นั่นเองครับ


เนื่องจากจำนวนพนักงานใน Happy MPM มีจำนวนมากทั่วประเทศรวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ต้องใช้เบอร์ติดต่อหลายเบอร์ มักจะเจอปัญหาเรื่องการโทรติดต่อกับลูกค้า หรือแม้กระทั่งสมาชิกในเครือข่ายก็ตาม จึงได้มีการนำ dtac OneCall เข้ามาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาด้วยการใช้เบอร์ติดต่อเพียงเบอร์เดียว แต่สามารถรับสายได้ทุกที่ ทุกเวลา พนักงานคนไหนก็สามารถรับได้ จึงไม่ต้องกังวลเรื่องพลาดสายของลูกค้าแม้แต่สายเดียว ที่สำคัญยังคุมงบต่อเดือนได้





การมองหาเครื่องมือใหม่ ๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นนวัฒกรรม หรือโซลูชันเสมอไป แต่ยังหมายถึงกลยุทธ์เพื่อวิเคราะห์การทำงานในองกรณ์ คู่แข่ง และลูกค้า เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้ไปพัฒนาการบริการ สินค้า และการทำงานร่วมกันต่อไป ความเป็นธุกิจไม่ได้หยุดอยู่แค่กำไรที่ได้จากการขายเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงคุณภาพ ทัศนคติ และการทำงานของคนในองกรณ์ด้วย


Happy MPM ได้ก้าวผ่านคำสบประมาทเกี่ยวกับภาพจำเก่า ๆ ของธุรกิจเครือข่ายไปได้ ด้วยแนวคิดและมุมมองที่เปลี่ยนทันยุคสมัยเสมอ และมีลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ พร้อมไม่หยุดที่จะมองหาโซลูชันใหม่ ๆ ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโต โดยเชื่อใจให้ dtac business เป็นเพื่อนคู่คิดช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าด้วยดิจิทัลโซลูชันอย่างมีประสิทธิภาพครับ



 

 


Related Content